
มาตรฐานการติดตั้งก๊าซ
— มีนาคม 8, 2014 ปิดความเห็น บน มาตรฐานการติดตั้งก๊าซ 916
- 1. ทำการถอดท่อไอดีมาเจาะฝัง nozzle gas ทุกครั้งเพื่อป้องกันเศษโลหะที่เกิดจากการเจาะเข้าไปสร้างความเสียหายกับเครื่องยนต์
![]() |
![]() |
- 2.ในการเดินสายไฟนั้น เราจะทำการตัดชุดหัวฉีดและปั้มติ๊กภายในห้องโดยสาร จะไม่ทำการตัดต่อสายไฟภายในห้องเครื่องยนต์ เพราะความร้อนภายในห้องเครื่องยนต์จะทำให้ชุดสายไฟที่ทำการตัดต่อนั้นเสื่อม สภาพเร็วขึ้นและไม่สวยงาม
![]() |
![]() |
- 3.สำหรับท่อน้ำ ท่อก๊าซ ท่อแวคกั่มและสายไฟต่างๆ เราจะทำการหุ้มด้วยท่อกระดูกงูทั้งหมดเพื่อกันความร้อนในห้องเครื่องยนต์ ทำลายอุปกรณ์ดังกล่าวให้อายุสั้นลง
- 4.ในการออกแบบวงจร ไฟฟ้าของการติดตั้งก๊าซระบบดูดนั้น เราจะออกแบบให้สามารถใช้น้ำมันได้เสมอไม่ว่าอุปกรณ์ก๊าซที่ติดตั้งตัวใดตัว หนึ่งเสีย เช่น ฟิวส์ขาด สวิทช์เสีย รีเลย์เสีย หรืออุปกรณ์ก๊าซตัวอื่นๆเสีย ก็ยังสามารถใช้น้ำมันได้ตามปกติ
- 5.ในการเดินท่อก๊าซที่ ถังก๊าซเราจะเก็บท่อก๊าซทั้งหมดให้อยู่ภายในขาถังก๊าซเพื่อป้องกันการกระแทก ที่อาจจะเกิดขึ่นกับท่อก๊าซได้และจะได้มีพื้นที่ในการเก็บสัมภาระเพิ่มขึ้น ไม่เกะกะ
![]() |
![]() |
- 6.หัวรับเติมก๊าซเราจะติดตั้งให้อยู่ในตำแหน่งที่แข็งแรงและสวยงาม โดยจะต้องไม่ยื่นโผล่ออกนอกตัวรถ
- 7. การปรับจูนก๊าซระบบหัวฉีดเราจะทำการปรับจูนอุปกรณ์ก๊าซ(Hardware)เข้าหา โปรแกรมปรับจูน (Software)แล้วใช้โปรแกรมปรับจูนแบบละเอียดอีกครั้งหนึ่ง เพื่อประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น(Output)
- 8. การปรับจูนก๊าซระบบดูด เราจะใช้เครื่องวัดส่วนผสมของเชื้อเพลิง(A/F Meter)มาใช้ เพื่อไม่ให้ ส่วนผสมหนา(เปลืองก๊าซ)หรือบาง(วาล์วไอเสียยัน)